05 ตุลาคม 2558

ประวัติระนาดเอก โดยย่อ

ประวัติระนาดเอก โดยย่อ

ระนาด, ระนาดเอก เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี สันนิษฐานว่าแต่เดิมคงนำไม้ทำอย่างกรับหลายๆอันวางเรียงตีให้เกิดเสียงอย่างหยาบๆขึ้นก่อน แล้วคิดทำไม้รองเป็นรางวางเรียงไป ต่อมาจึงประดิษฐ์ดัดแปลงให้มีขนาดลดหลั่นกันวางบนรางเพื่อให้อุ้มเสียงได้ จากนั้นจึงใช้เชือกร้อยไม้กรับขนาดต่างๆนั้นให้ติดกันขึงแขวนไว้บนราง ใช้ไม้ตีเกิดเสียงกังวานไพเราะลดหลั่นกันตามต้องการ และใช้ขี้ผึ้งกับตะกั่วผสมกันติดหัวท้ายลูก ระนาดเพื่อถ่วงเสียงให้ไพเราะยิ่งขึ้น ให้ชื่อว่า "ระนาด"

         ต่อมามีผู้คิดค้นประดิษฐ์ระนาดอีกชนิดหนึ่งให้มีเสียงทุ้มฟังนุ่มไม่แกร่งกร้าวเหมือนอย่างเก่า จึงเรียกระนาดอย่างใหม่นั้นว่า "ระนาดทุ้ม" และ
เรียกระนาดอย่างเก่าว่า "ระนาดเอก" ระนาดเอกถ้าต้องการเสียงไพเราะนุ่มนวลมักนิยมทำด้วยไม้ไผ่บง ถ้าต้องการให้เสียงเกรียวกราวมักนิยมทำ
ด้วยไม้แก่นเช่น ไม้มะค่า ไม้ชิงชัน ลูกระนาดมีจำนวน 21 ลูก ลูกต้น (อยู่ซ้ายมือของผู้ตี) ขนาดยาวประมาณ 39 ซม. กว้างประมาณ 5 ซม.หนา 1.5 ซม. ลูกต่อมาก็ลดหลั่นกันลงไปจนถึงลูกที่ 21 หรือลูกยอด (ขวามือของผู้ตี) มีขนาดยาว 29 ซม. ลูกระนาดเหล่านั้นร้อยเชือกติดกันเป็นผืน
แขวนบนรางซึ่งทำด้วยไม้เนื้อแข็งมีรูปร่างคล้ายลำเรือ ด้านหัวและท้ายโค้งขึ้นเพื่อให้อุ้มเสียงมีแผ่นไม้ปิดหัวและท้ายรางระนาดเรียกว่า"โขน" วัดจากโขนหัวรางข้างหนึ่งถึงโขนอีกข้างหนึ่งยาวประมาณ 120 ซม. มีฐานรูปทรง สี่เหลี่ยมรองตรงส่วนโค้งตรงกลางเรียกว่า "เท้า"

         ระนาดเอก ใช้ไม้ตี 1 คู่ ตอนที่ใช้มือถือเหลาเล็กเป็นก้านไม้กลม หัวไม้ตีทำเป็น 2 ชนิด ชนิดหนึ่งทำด้วยวัสดุแข็งตอนปลายพอกด้วยผ้าชุบยางรักบรรเลงให้เสียงดังเกรียว กราว เมื่อผสมเข้าวงเรียกว่า "ปี่พาทย์ไม้แข็ง" ไม้ตีอีกชนิดหนึ่งคิดทำกันขึ้นในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุล
จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯทำด้วยวัสดุซึ่งนุ่มกว่า ใช้ผ้าพันแล้วถักด้าย สลับจนนุ่มบรรเลงให้เสียงนุ่มนวล เมื่อผสมเข้าวงเรียกว่า "ปี่พาทย์ไม้นวม" ผู้ตีนั่งหัน หน้าเข้าหาเครื่องดนตรีจับไม้ข้างละมือตีคู่แปดพร้อมกัน

         ระนาดเอก เป็นเครื่องดนตรีชิ้นนำของวงปี่พาทย์เพราะไม่ว่าจะเริ่มเล่นเพลงหรือ เปลี่ยนเพลงทั้งวงจะยึดแนวของระนาดเอกเป็นหลัก นอก
จากนี้ระนาดเอกยังเป็นเครื่อง ดนตรีหลักในการผสมวงเช่น ปี่พาทย์เครื่องห้า ปี่พาทย์เครื่องคู่ ปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ ปี่พาทย์มอญ ปี่พาทย์นางหงส์ หรือแม้แต่ในวงมโหรีไม่ว่าจะเป็นมโหรีเครื่องเล็ก มโหรี เครื่องคู่ หรือ มโหรีเครื่องใหญ่ ต่างก็ใช้ระนาดเอกเป็นหลักทั้งสิ้น

27 พฤศจิกายน 2551

19 พฤศจิกายน 2551

ขิม ประวัติ และความเป็นมา

ขิมมีสองประเภทคือ ขิมผีเสื้อ และขิมกระเป๋าหรือเรียกอีกอย่างว่าขิมคางหมู
ขิมผีเสื้อไม้สักทอง

ราคา 5,900 บาท
โทร. 089-5312565

ขิมเป็นเครื่องดนตรีชิ้นหนึ่งที่เป็นที่นิยมในการบรรเลงในวงเครื่องสายของดนตรีไทย เนื่องจากมีเสียงที่ไพเราะและเป็นเอกลักษณ์

ประวัติความเป็นมาของขิมมีดังนี้

ขิมคนไทยเป็นที่รู้จักกันดีทั่วไปแต่ประวัติความเป็นมาของขิมมีคนทราบกัน น้อยมาก ในเมืองไทยคนส่วนมากจะคิดว่าขิมเป็นเครื่องดนตรีของจีนเพราะทราบ แต่เพียงว่าไทยรับเอาแบบอย่างการบรรเลงขิมหรือการประดิษฐ์ขิมมาจากชาวจีนที่ เข้ามาค้าขายกับเมืองไทยในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ชาวยุโรปส่วนใหญ่จะทราบว่าขิมเป็นเครื่องดนตรีที่แพร่เข้ามาจากทาง ตะวันออกแถบเอเซียกลางซึ่งก็คือบริเวณที่ตั้งของประเทศตุรกี อิหร่าน อิรัค และประเทศในกลุ่มศาสนาอิสลามอีกหลายประเทศในปัจจุบันนั่นเอง แต่ในยุคโบราณซึ่งนับถอยหลังไปประมาณ 539 - 330 ปีก่อนศริสตกาลนั้นบริเวณดังกล่าวตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของชนชาติที่เคยยิ่ง ใหญ่ชาติหนึ่งนั่นคือ อาณาจักรเปอร์เซีย

คนชาติเปอร์เซียนโบราณเป็นทั้งชาตินักรบและศิลปิน เราสังเกตุได้จากอาณาจักรที่ ได้แผ่กว้างออกไปไกลและสิ่งก่อสร้างที่หลงเหลือมาจนถึงยุคปัจจุบัน แสดงให้เห็นถึงความละเอียดอ่อนในด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมที่โดดเด่นเป็น เอกลักษณ์ของตนเองและคนชาติเปอร์เซียนนี้เองที่เชื่อกันว่าเป็นผู้ริเริ่ม คิดประดิษฐ์ ขิม ขึ้นมาก่อนเป็นชาติแรกๆของโลก

เมื่อคนเปอร์เซียนได้คิดประดิษฐ์ขิมขึ้นและก็ได้แพร่หลายไปทั่วทวีปยุโรปและเอ เซียตาม สำหรับทวีปเอเซียนั้นแพร่เข้ามาทางเส้นทางสายไหมไปสู่ประเทศจีนโดยพ่อค้าชาว เปอร์เซียน ด้วยสาเหตุนี้คนจีนจึงเรียกขิมว่า หยางฉิน ซึ่งแปลว่า เครื่องดนตรีของต่างชาติ ส่วนที่แพร่ไปทางดินเดียก็มีเหมือนกันโดยชาวดินเดียเรียกขิมว่า ซันตูร์ ในทวีปยุโรปเรียกขิมว่า ดัลไซเมอร์ ที่จริงคำว่า Dulcime มิได้หมายถึงขิมเท่านั้นแต่หมายรวมไปถึงเครื่องดนตรีประเภทพิณที่ทำด้วยไม้ แล้วขึงสายโลหะทุกประเภท ส่วนใหญ่เครื่องดนตรีที่ขึงสายนั้นจะบรรเลงด้วยการใช้นิ้วมือหรือวัสดุเล็ก ที่เรียกว่า ปิ๊ก ดีดหรือเขี่ยสายให้เกิดเสียงและใช้นิ้วมืออีกข้างกดสายเพื่อให้เกิดเป็น ทำนองเสียงสูงต่ำแตกต่างกันแต่ขิมเป็นเครื่องดนตรีประเภท Dulcimer ที่ใช้ไม้ 2 อันตีไปตามสายดังนั้นจึงเรียกขิมอีกชื่อหนึ่งว่า Hammered Dulcimer ซึ่งหมายถึงพิณที่บรรเลงด้วยการใช้ฆ้อนไม้เล็กๆตีลงไปบนสาย

เพราะชาวจีนเป็นนักคิดประดิษฐ์และมีรูปแบบศิลปะเป็นของตนเองจึงนำเอาขิมมาจากเปอร์เซียแล้วนำมาดัดแปลงเป็นแบบฉบับของตนเองและนิยม บรรเลงกันแพร่หลายทั่วไปแต่มิได้ตั้งชื่อใหม่ให้กับเครื่องดนตรีชนิดนี้คง เรียกว่าหยางฉินเหมือนเดิม

ในเมืองไทย ยุคต้นๆของกรุงรัตนโกสินทร์เมื่อมีพ่อค้าชาวจีนแล่นเรือเข้ามาค้า ขายและตั้งหลักแหล่งในประเทศไทยมากขึ้นนักดนตรีไทยเห็นชาวจีนนำหยางฉินเข้ามาบรรเลงเล่นกันในชุมชนของชาวจีนและโรงงิ้วจึงเกิดความสนใจและได้นำเครื่อง ดนตรีชนิดนี้เข้ามาร่วมบรรเลงกับเครื่องดนตรีของไทย เช่น ซอด้วง ซออู้ และเห็นว่ามีความไพเราะน่าฟังเหมาะสมกลมกลืนกันดีจึงจัดให้ขิมเป็นเครื่อง ดนตรีของไทยอีกชนิดหนึ่งซึ่งรวมอยู่ในประเภทวงเครื่องสายทั้งนี้อาจจะเห็น ว่าขิมนั้นมีสายขึงเรียงรายอยู่มากมายทั้งๆที่ลักษณะการบรรเลงของขิมนั้นน่า จะจัดอยู่ในประเภทเครื่องตีเช่นระนาดเอกหรือฆ้องวงมากกว่าแต่เนื่องจากเสียง ขิมนั้นเมื่อบรรเลงรวมกับเสียงของวงปี่พาทย์แล้วไม่ค่อยสนิทสนมกลมกลืน เหมือนบรรเลงกับวงเครื่องสายด้วยเหตุนี้ขิมจึงถูกจัดให้เป็นเครื่องดนตรี ประเภทเครื่องสายและเรียกวงดนตรีที่ใช้ขิมร่วมบรรเลงว่า วงเครื่องสายผสมขิม ประกอบด้วย ซอด้วง ซออู้ ขิม ขลุ่ยเพียงออ โทน รำมะนา ฉิ่ง

ในสมัยรัชกาลที่ 6 ขิมเริ่มมีบทบาทในวงดนตรีไทย โดย อาจารย์มนตรี ตราโมท เป็นผู้ริเริ่มนำขิมมาบรรเลงในวงดนตรีไทย หลังจากนั้นก็มีผู้นิยมบรรเลงขิมกันแพร่หลายทั่วไป ขิมจีนรุ่นแรกๆนั้นคนไทยนิยมเรียกว่า ขิมโป๊ยเซียน เป็นขิมที่สั่งเข้ามาจากประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ ที่เรียกว่าขิมโป๊ยเซียนก็เพราะขิมรุ่นนั้นนิยมวาดภาพเซียนแปดองค์ของจีนไว้ บนฝาขิมต่อมาเมื่อความต้องการซื้อขิมเพิ่มมากขึ้นประกอบกับประเทศจีน ทำการปิดประเทศช่างดนตรีของไทยจึงได้คิดประดิษฐ์ขิมขึ้นมาเองโดยเปลี่ยนจาก ภาพเซียนแปดองค์เป็นภาพลายไทยอื่นๆเช่นลายเทพนมเป็นต้น
ช่างดนตรีไทยได้ประดิษฐ์ขิมขึ้นโดยเลียนแบบอย่างจากขิมโป๊ยเซียนแต่มี ขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย และโดยความที่คนไทยเป็นนักคิดประดิษฐ์ไม่แพ้ชาติอื่นช่างดนตรีไทยจึงปรับ ปรุงเปลี่ยนแปลงรูปร่างลักษณะและอุปกรณ์สำหรับตีขิมให้แตกต่างออกไปบ้างอาทิ เช่นไม้ขิมของจีนนั้นเดิมตรงส่วนปลายเป็นเพียงสันไม้ไผ่เปล่าๆไม่มีวัสดุห่อ หุ้ม ช่างไทยก็หาวัสดุจำพวกแผ่นหนังมาติดไว้เวลาตีสายขิมจะมีเสียงไพเราะนุ่มนวล น่าฟังมากกว่า ลวดลายที่วาดบนฝาขิมก็เปลี่ยนเป็นลายไทยเช่นลายเทพนมฯหรือถ้าวาดเป็นลายจีน ก็เป็นลายจีนแบบไทยที่คิดประดิษฐ์ลายเองเช่นลายมังกรคู่หรือลายจีนอื่นๆแล้ว แต่จินตนาการของช่างแต่ละแหล่งผลิต

ในไทยขิมมีพัฒนาการเรื่อยมาทั้งในด้านรูปร่างลักษณะและอุปกรณ์ที่ใช้ในการบรรเลงขิมอาทิเช่น ทำตัวขิมเป็นรูปเหมือนกระเป๋าเดินทางมีหูหิ้วเพื่อให้สะดวกในการนำ ไปบรรเลงยังที่ต่างๆ ทำถุงใส่ตัวขิมทั้งที่เป็นพลาสติกหนังและผ้า บางทีก็ทำเป็นสายเข็มขัดรัดตัวขิมมีหูหิ้วในตัวฯลฯ แต่การพัฒนาที่นับว่าเป็นการก้าวกระโดดครั้งสำคัญครั้งแรกของวงการผลิตขิมของไทยก็คือการผลิตขิมชนิด "หมุดเกลียว"

เดิมทีนั้นขิมจีนและขิมที่ผลิตโดยคนไทยล้วนใช้หมุดยึดสายขิมแบบ หมุดตอก ทั้งสิ้น หมุดตอกคือหมุดที่ต้องใช้ฆ้อนเล็กๆตอกย้ำหมุดให้แน่นขณะที่ปรับเสียงขิม เพราะถ้าหมุดไม่แน่นจะคลายตัวง่ายทำให้เสียงขิมเพี้ยนแปร่งไม่น่าฟังแต่ เนื่องจากตัวหมุดทำด้วย ทองเหลืองบางครั้งจะบิดงอได้ง่ายหรือบางทีส่วนปลายหักค้างอยู่ใน เนื้อไม้ทำให้ตอกไม่ลงและตัวหมุดไม่ยึดเนื้อไม้จึงไม่สามารถเทียบเสียงเส้น นั้นได้นอกจากนั้นขิมแบบหมุดตอกตัวหมุดมีผิวเรียบไม่ค่อยจะยึดกับเนื้อไม้ ได้ดีนักต้องหมั่นตอกย้ำกันอยู่เสมอมีบ่อยครั้ง ที่หมุดคลายตัวขณะที่กำลังบรรเลงเพราะแรงสั่นสะเทือนจากการตีสายขิมทำให้ ต้องหยุดบรรเลงบ่อยๆ ด้วยเหตุนี้จึงมีช่างดนตรีไทยท่านหนึ่งคิดแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยเปลี่ยนมา ใช้หมุดเกลียวแทนหมุดตอกทำให้สายขิมไม่ค่อยคลายตัวง่ายและยังสะดวกในการ เทียบสายขิมเพราะไม่ได้ใช้ฆ้อนตอกแต่ออกแบบอุปกรณ์เทียบเสียงใหม่เป็นกระบอก สวมหัวหมุดและมีก้านสำหรับจับบิดไปมาได้แรงมากกว่าการหมุนที่หัวฆ้อนแบบเดิม การปรับเสียงขิมจึงทำได้สะดวกรวดเร็วขึ้นมากและสายขิมไม่คลายตัวง่ายเหมือน หมุดตอกนับเป็นการพัฒนาครั้งสำคัญครั้งแรกของการผลิตขิมของไทยเรา
การพัฒนาขิมไทยครั้งที่ 2 ก็คือการผลิตขิมชนิด 9 หย่อง ซึ่งนับได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของขิมไทยทีเดียวทั้งนี้เพราะขิม ชนิด 9 หย่องมีคุณภาพเสียงไพเราะน่าฟังกว่าขิมแบบ 7 หย่องมากเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงวัสดุที่ใช้ในการผลิตและปรับปรุงรูปร่าง ให้แปลกออกไปจากเดิมคือ แต่เดิมนั้นไม่ว่าจะเป็นขิมจีนหรือขิมไทยก็มักจะใช้สายที่ทำด้วยลวดทอง เหลืองทั้งนั้น แต่ขิม 9 หย่องเปลี่ยนจากสายทองเหลืองไปเป็นสายลวดเหล็กที่ไม่ขึ้นสนิม (Stainless Steel) จึงไม่เป็นสนิมและไม่ขาดง่ายเหมือนกับสายทองเหลืองทั้งยังให้กระแสเสียงที่ อ่อนหวานไพเราะน่าฟังมากกว่าสายทองเหลือง
สาเหตุที่ต้องทำเป็นขิม 9 หย่องมีความนัยที่น่าสนใจคือ สายลวดเหล็กที่เรียกว่าเสตนเลสสตีลนั้นมีความยืดหยุ่นตัวมากกว่าสายทองเหลือง ดังนั้นถ้าจะให้เสียงดังกังวานสดใสเต็มที่จะต้องขึงให้ตึงมากกว่าสายทองเหลือง หากเอาสายลวดเหล็กไม่ขึ้นสนิมมาเปลี่ยนแทนสายลวดทองเหลืองในขิมชนิด 7 หย่องแล้วจะเกิดปัญหาคือจะไม่สามารถเทียบสายให้ตึงมากๆได้ทั้งนี้เพราะวงเครื่องสายไทยใช้ระดับเสียงที่ เรียกว่า "เพียงออ" เป็นหลักในการเทียบเสียง(ระดับเสียงเพียงออคือระดับเสียงของขลุ่ยไทยชนิดที่ ใช้ในการบรรเลงเครื่องสาย) และระดับเสียงเพียงออนี้จะอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ เมื่อใช้สายขิมเสตนเลสสตีลขึงจะถึงระดับของเสียงเพียงออก่อนที่ตัวสายจะตึง เต็มที่ เวลาตีสายขิมเสียงจะไม่น่าฟังเพราะสาย ยังไม่ตึงเต็มที่ นายแพทย์สมชาย กาญจนสุต จึงเพิ่มระยะความยาวของตัวขิมออกไปทางด้านข้างอีกเพื่อให้สามารถเพิ่มความ ตึงของสายได้โดยระดับเสียงยังคงเดิม ด้วยวิธีนี้จึงทำให้ขิมที่ใช้สายเสตนเลสสตีลมีเสียงกังวานสดใสไพเราะน่าฟัง เนื่องจากตัวสายขิมมีความตึงเต็มที่ และเนื่องจากการที่ต้องเพิ่มความยาวทางด้านข้างออกไปมากกว่าเดิมจึงจำเป็น ต้องเพิ่มความความยาวด้านตั้งด้วยเพื่อให้รูปร่างของขิมแลดูสมส่วนไม่เรียว ยาวมากเกินไป นอกจากนั้นการเพิ่มความยาวในแนวตั้งยังทำให้ได้ตำแหน่งเสียงเพิ่มขึ้นอีก 2 ตำแหน่งจึงกลายเป็นขิมที่มีหย่อง 9 หย่อง ด้วยเหตุนี้ขิม 9 หย่องจึงมีขนาดใหญ่กว่าขิม 7 หย่อง
นอกจากการเปลี่ยนวัสดุที่ ใช้ในการทำสายขิมและเปลี่ยนรูปร่างให้มีขนาดใหญ่กว่าเดิมแล้วนายแพทย์สมชาย ยังได้ออกแบบช่องเสียงของตัวขิมใหม่คือแต่เดิมช่องเสียงขิมนิยมทำเป็นวงกลมๆ 2 วงอยู่บนผิวหน้าขิมแล้วปิดประดับด้วยงาหรือวัสดุที่ทำเป็นลายฉลุสวยงาม แต่ช่องเสียงของขิม 9 หย่องกลับทำเป็นร่องยาวๆอยู่ตรงด้านข้างใต้ตัวขิมข้างละ 1 ร่อง บนผิวหน้าของตัวขิมจึงแลดูราบเรียบไม่มีร่องกลมๆให้เห็นเหมือนขิม 7 หย่อง
ขิม 9 หย่องนี้ปัจจุบันเป็นที่นิยมในหมู่นักดนตรีที่บรรเลงขิมมาก แม้ว่าสนนราคาจะค่อนข้างแพงสักหน่อยแต่คุณประโยชน์ก็มีมากเช่นกันคือ เสียงไพเราะน่าฟัง สายขิมไม่ขาดง่าย และมีรูปร่างสวยงาม ผู้ที่ซื้อขิมชนิดนี้ควรจะเป็นผู้ที่มุ่งจะฝึกเอาดีทางการบรรเลงขิมจึงจะสม ประโยชน์เพราะหากคิดเพียงแค่จะบรรเลงขิมเล่นๆแล้วซื้อขิมรุ่นอื่นที่เป็น ชนิด 7 หย่องจะสมประโยชน์มากกว่า ทั้งราคายังไม่แพงมากด้วย
นาย แพทย์สมชาย กาญจนสุต ยังได้ริเริ่มออกแบบขิมให้มีความสะดวกในการนำไปบรรเลงยังสถานที่ต่างๆโดยทำ เปลือกนอกของตัวขิมให้มีลักษณะคล้ายกับกระเป๋าเดินทางโดยมีหูหิ้วสำหรับหิ้ว ขิมติดมาด้วย ขิมรุ่นนี้เรียกกันว่า "ขิมกระเป๋า" วัสดุที่ใช้ทำเปลือก นอกเป็นวัสดุเดียวกับที่ใช้ทำกระเป๋าเดินทางทั่วไปมีฝาเปิดปิดได้ทำนองเดียว กับกระเป๋าเดินทางเมื่อเปิดฝาออกมาแล้วส่วนในจะกลายเป็นพื้นหน้าของขิมชนิด 7 หย่อง ขิมกระเป๋านี้มีรูปร่างกรอบนอกเรียบๆธรรมดาไม่มีรอยหยักโค้งเหมือนขิมไม้โดย มากจะมีรูปทรงแบบสี่เหลื่ยมคางหมู
ขิมกระเป๋านี้สามารถนำเดินทางติดตัวไปยังสถานที่ไกลๆเช่นใน ต่างประเทศได้สะดวกเป็นการเอื้ออำนวยสำหรับการเผยแพร่ดนตรีไทยไปต่างประเทศ ทางอ้อมด้วย เพราะขิมแบบนี้มีเปลือกนอกแข็งแรงเหมาะกับการขนส่งไปทางไกล
นอก จากขิมกระเป๋าที่กล่าวไปแล้วนายแพทย์สมชายฯยังได้ออกแบบขิมกระเป๋าอีกชนิด หนึ่งซึ่งแตกต่างไปจากขิมกระเป๋าชนิดแรกเรียกว่า "ขิมกระเป๋าแบบแยกส่วน" ขิมชนิดนี้มีกระเป๋า ซึ่งสามารถแยกออกจากตัวขิมได้โดยออกแบบทำตัวขิมสำเร็จรูปแยกต่างหากจากตัว กระเป๋าแต่สามารถสอดเก็บไว้ได้แนบสนิทภายในฝาขิมพอดี ตัวกระเป๋าแยกออกเป็น 2 ส่วนคือฝาส่วนและฝาส่วนล่างซึ่งสามารถถอดแยกออกจากกันได้ด้วย ขิมกระเป๋ารุ่นนี้มีแผ่นไม้แบนๆ 3 ชิ้นซึ่งประกอบเข้าเป็นขาตั้งสำหรับวางตัวขิมให้สะดวกในการบรรเลงและดูสวยงามด้วย

ต่อมาไม่นานนักนายแพทย์สมชายฯได้คิดประดิษฐ์ขิม 11 หย่องขึ้นมาอีกโดยมีจุดมุ่งหมายพิเศษคือขิม 11 หย่องนี้รวมเอาขิม 7 หย่อง 2 ตัวเข้าไว้ด้วยกันในตัวเดียวกล่าวคือ สายบนสุดนับลงมา 7 ตำแหน่งเทียบเสียงเป็นขิมที่มีระดับเสียงค่านข้างสูงส่วนสายที่เหลือซึ่งอยู่ถัดลงมาเทียบเป็นเสียงระดับค่อนข้างต่ำ ด้วยวิธีนี้ขิม 11 หย่อง 1 ตัวจึงสามารถบรรเลงได้มิติของเสียงมากขึ้นคือเหมือนกับมีขิม 7 หย่อง 2 ตัวที่เทียบเสียงสูงตัวหนึ่งและเสียงต่ำตัวหนึ่งซ้อนกันอยู่ภายในตัวเดียว แต่ผู้ที่บรรเลงขิม 11 หย่องนี้จะต้องมีความสามารถสูงจึงจะบรรเลงได้ดี
จากนั้นไม่นานนักนายแพทย์สมชายฯได้ผลิตขิม 11 หย่องชนิดเสียงทุ้มออกมาอีกโดย คราวนี้ออกแบบโครงสร้างภายในตัวขิมใหม่หมดพร้อมทั้งเปลี่ยนขนาดของสายขิมให้ ใหญ่ขึ้นเพื่อให้เสียงขิมมีความทุ้มลึกมากเป็นพิเศษเรียกว่า "ขิมอู้" หรือขิมที่เน้นการบรรเลงเฉพาะเสียงทุ้มลึกคล้ายกับเครื่องดนตรีเบส ขิมชนิดนี้เมื่อใช้บรรเลงร่วมกับขิม 9 หย่องโดยเรียบเรียงวิธีการบรรเลงให้เหมาะสมแล้วจะเพิ่มอรรถรสให้กับผู้ฟัง มากทีเดียวเพราะมีทั้งเสียงสูงและเสียงต่ำครบ